บทที่
1
บทนำ
1.1) หลักการและเหตุผล
โครงงานเรื่องข้าวหลามยั่วๆจ้านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรายวิชา
ทักษะการรู้สารสนเทศ VGE111
กลุ่มของข้าพเจ้าจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอให้คนในปัจจุบันได้รู้จักวิธี เพื่อเสริมและฝึกฝนให้นิสิต มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์มากยิ่งขึ้น
จึงเห็นสมควรจัดทำโครงงานข้าวหลามกะลาขึ้นมา
เพื่อศึกษาการทำข้ามหลามกะลาและนำไปเผยแพร่วิธีการทำ
นอกจากนั้นยังได้มีความฝึกความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในงานสารสนเทศในเรื่องการนำงานเผยแพร่ทางด้านวิดีโอ
เป็นการจัดการความรู้อีกด้วยเป็นประโยชน์ทั้งด้านผู้ทำและด้านผู้ชมอีกด้วยดังนั้นการทำโครงงานเรื่องนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ดูไม่มากก็น้อย
ข้าวหลาม
เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม
หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า
และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ
หรืองา ปัจจุบันชาวบ้านได้ดัดแปลงผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่เป็นกะลามะพร้าว
ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการ
ข้าวหลามยั่วๆจ้าเพื่อให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานีได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวจังหวัดปทุมธานีแล้วยงสร้างรายได้และเป็นการพัฒนาทักษะของชาวบ้านอีกด้วย
1.2) วัตถุประสงค์
1.เพื่อทำให้คนในปัจจุบันได้รู้จักวิธี
และความรู้พื้นฐานในการทำข้าวหลาม
2.เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนรุ่นหลังเอาไว้และพัฒนาให้แปลกใหม่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
3.เพื่อนำข้าวหลามไปจำหน่ายให้เกิดรายได้ สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้
1.3) เป้าหมาย
1. สนับสนุนข้าวหลามกะลาที่
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
2.
ส่งเสริมให้มีคนรู้จัก ข้าวหลามกะลาที่มีความแปลกใหม่ในการใส่ผลิตภัณฑ์
3.
ยกระดับคุณภาพของข้าวหลามกะลา เปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นกะลามะพร้าว
4.
เพื่อให้คนในชุมชนสนใจและเห็นถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์
1.4) ขอบเขต
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหลามที่มีส่วนผสมของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี
ได้แก่ ข้าวมันสำปะหลัง
โดยข้าวหลามจะมีการใช้ข้าวเหนียวกล้องเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร
เพิ่มกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยการใช้น้ำกะทิสด และเสริมใยอาหารจากวัตถุดิบต่างๆ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเริ่มจากผลิตภัณฑ์เดิมเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะแปลกมีรูปทรงน่ารับประทานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
และได้ผลิตภัณฑ์ข้าวหลามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นของจังหวัด ปทุมธานี
1.5) ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.
ขั้นตอนและระยะการดำเนินงาน
2.
ระยะเวลาการดำเนินงาน สัปดาห์ที่1 - 6
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงาน ข้าวหลามยั่วๆจ้า
คณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1
ข้าวหลาม
2.2
ข้าวหลามกะลา
2.3
ตลาดอิงน้ำสามโคก
2.1) ข้าวหลาม
ข้าวเหนียวขาว
เป็นอาหารหลักอีกประการหนึ่งของชาวอีสานซึ่งรับประทานกันเป็นประจำเหมือนกับการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักประจำในภูมิภาคอื่น
ๆ ประชาชนชาวอีสานนิยมรับประทานข้าวเหนียวกับปลาร้า ปลาเจ่า และผักสด
ผักดองเป็นประจำจนเป็นอาหารหลัก แต่ยังสามารถนำมาเป็นอาหารว่างได้อีกด้วย เช่น
ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน เป็นต้น
ข้าวเหนียวดำมีผู้นิยมรับประทานกันมากเช่นเดียวกับข้าวเหนียวขาว อย่างเช่น
ข้าวเหนียวดำกับเผือกก็อร่อยไม่ใช่เล่น ข้าวเหนียวขาวและข้าวเหนียวดำ สามารถนำมาเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งคือ
ข้าวหลาม ในตอนนี้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดต้อง
ยกให้ " ข้าวหลามหนองมน "
ที่มีการทำกันเป็นจำนวนมากและยังอร่อยอีกด้วย
หนองมน
เป็นชื่อเรียกสถานที่หนึ่งในตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี
ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรีประมาณ 11-12 กิโลเมตร ตลาดหนองมน หรือตลาดแสนสุข
นับเป็นแหล่งการค้าที่เจริญมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี
ทั้งสองฝั่งเต็มไปด้วยผู้คนที่
เดินกันเต็มไปทั้งตลาดที่มาจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อของฝากไปให้ญาติพี่น้อง
จนพูดกันว่ามาถึงตลาดหนองมนไม่ซื้อข้าวหลามหนองมนติดมือกลับไปเท่ากับว่ายังมาไม่ถึงหนองมน
วิธีการทำข้าวหลาม
ส่วนผสม
1.
ข้าวสารเหนียว 1/2 ลิตร
2. น้ำตาลทราย 400 กรัม
3. กะทิ 3 ถ้วย
4. ถั่วดำถั่วดำต้มสุก
2 ถ้วย
5. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ
6. ไผ่ข้าวหลาม
12 กระบอก
7. กาบมะพร้าว 12
ชิ้น
วัสดุอุปกรณ์
1. ไม้ไผ่อ่อน
2. มีดปลอกข้าวหลาม
3. ราวเหล็ก
4. ถ่าน 5
กิโลกรัม
5. ช้อน
6. หม้อ
7. ไม้คีบถ่าน
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
1.
ตัดไผ่ข้าวหลามให้ยาวประมาณ 12 นิ้ว ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำกระบอกลง
พักไว้ให้แห้ง
2. ผสมกะทิ
น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
3.
ล้างข้าวสารให้สะอาดจนกระทั่งน้ำใส นำข้าวใส่ตะกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ
ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
4.
นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ
จนเต็มกระบอก เลือกด้านบนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก
5.
นำกาบมะพร้าวม้วนมาปิดกระบอกข้าวหลาม
6.
เผาข้าวหลามพอประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอกมีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก
7.
ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง
เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่าย
วิธีการย่างไฟ
1. ติดไฟเตา
เมื่อไฟติดได้ที่แล้ว
จึงนำกระบอกข้าวหลามที่เตรียมไว้มาวางเรียงในลักษณะตั้งเอนขึ้นให้พิงกับแนวหลักที่ทำจากท่อนเหล็ก
2.
ควรพลิกข้าวหลามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้าวหลามสุกอย่างทั่วถึง
และไม่ให้ข้าวหลามไหม้บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
3.
หากกะทิเดือดมาก ต้องคอยดึงจุกข้าวหลามออก แล้วเทกะทิใส่เข้าไปใหม่
4.
การย่างข้าวหลามจะต้องอาศัยระยะเวลาในการย่างถึง 1 ชั่วโมง
ข้าวหลามจึงจะออกมาดูน่ารับประทาน
2.2 ข้าวหลามกะลา
เมื่อวันที่
29 พ.ย.ที่บ้านเลขที่ 60/2 บ้านบ่อโฉลก ต.ทุ่งกง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี สถานที่ผลิตข้าวหลามในมะพร้าวอ่อน
ของนายตันติกร สุขคุ้ม อายุ 22 ปี ที่สืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี
ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี นายตันติกร เล่าว่า
เดิมทำงานเป็นพนักงานในคลังน้ำมันแต่ได้ลาออกมาทำธุรกิจซึ่งที่บ้านมีอาชีพทำข้าวหลามขายมาตั้งแต่รุ่นทวด
ซึ่งปัจจุบันท่านก็ยังมีชีวิตอยู่อายุ 102 ปี
โดยสืบทอดกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่นจนถึงรุ่นตัวเองในปัจจุบัน
สูตรข้าวหลามก็เป็นสูตรของทวด แต่เดิมก็ทำข้าวหลามในกระบอกไม้ไผ่เหมือนกันทั่วๆไป
แต่ช่วงหลังเริ่มหาลำไม้ไผ่ที่จะมาทำข้าวหลามได้ยากมากขึ้น
ตนจึงคิดว่าจะนำเอาอะไรมาทำเพื่อที่จะทดแทนกระบอกไม้ไผ่ได้
จึงลองนำเอาผลอ่อนของมะพร้าวน้ำหอมอ่อน มาทดลองทำในช่วงแรกก็ใช้เผากับถ่าน
แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงได้ทดลองใช้เตาอบแทน จนได้สูตรที่ลงตัว
จึงเริ่มนำออกขายให้ลูกค้าที่สนใจสั่งจองผ่านทาง Facebook เมื่อลูกค้าได้กินก็เริ่มมีการตอบรับที่ดี เนื่องจากรสชาติ หวานมันหอม
และกลิ่นของมะพร้าวน้ำหอมก็ยิ่งเพิ่มความอร่อย เพราะใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงู
มาแช่นาน 5 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำมาใส่ผลมะพร้าวน้ำหอม และน้ำกะทิ นำไปอบนาน 2
ชั่วโมง และจะเป็นของใหม่สดทุกวัน เนื่องจากข้าวหลามที่ทำออกไปจะขายได้แค่วันต่อวัน
แต่ละวันสามารถผลิตได้แค่วันละ 80 ลูกเท่านั้น
2.3 ตลาดอิงน้ำสามโคก
ตลาดอิงน้ำสามโคก ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเตย
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เสน่ห์ของตลาดแห่งนี้เห็นจะอยู่ที่ความเรียบง่าย
ความเป็นกันเองของชาวบ้าน ที่ยังดำเนินวิถีชีวิตคู่ไปกับแม่น้ำลำคลอง
ที่ยังคงความสวยงามของธรรมชาตินักท่องเที่ยวจะได้เดินเล่นชมตลาดเก่าดั้งเดิม
พ่อค้าแม่ขายที่พายเรือมาขายของ ให้นักท่องเที่ยวอย่างเราได้เลือกซื้อกันเต็มอิ่ม
นักท่องเที่ยวจะสนุกไปกับการเลือกดูและเลือกซื้ออาหารไทยดั้งเดิม
เช่น ข้าวแช่ ขนมไทย อาหารมอญพื้นบ้าน พืชผลทางการเกษตร ที่ผลิตจากชาวบ้านโดยตรง
หมอนวดแผนโบราณและสินค้าต่าง ๆ ของชาวชุมชน
รวมถึงยังได้สัมผัสความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ไทยรามัญ ไทยจีน
และไทยมุสลิม เป็นต้น ซึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นเวลานาน จนกลายเป็นเสน่ห์ของตลาดอิงน้ำสามโคก
ที่ไม่ว่าใครก็ต้องมาสัมผัส
ตลาดอิงน้ำสามโคก
เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ แนะนำว่าให้มาช่วงเวลา 10.00-14.00 น.
บทที่
3
วิธีดำเนินงานโครงการ
ในการจัดทำโครงการข้าวหลามยั่วๆจ้า
ได้รู้จักวิธี
และความรู้พื้นฐานในการทำข้าวหลามและพัฒนาให้แปลกใหม่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพื่อนำข้าวหลามไปจำหน่ายให้เกิดรายได้และในกลุ่มได้แบ่งงานในส่วนการค้นคว้าแหล่งข้อมูล
การสรุปและการเรียบเรียงในการทำโครงการ
ผู้จัดทำโครงการมีวิธีดำเนินงานโครงการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ขั้นตอนและระยะการดำเนินงาน
2. ระยะเวลาการดำเนินงาน สัปดาห์ที่1 - 6
1.ข้าวเหนียวดำ
1 กิโลกรัม
2.กะทิ 1000
มิลลิลิตร (สำหรับข้าวหลาม)
3.กะทิ 300
มิลลิลิตร (สำหรับทำหน้า)
4.น้ำตาลทราย
300 กรัม
5.เกลือสมุทร 1
ช้อนชา (สำหรับข้าวหลาม)
6.เกลือสมุทร ½
ช้อนชา (สำหรับทำหน้า)
7.แป้งข้าวโพด 2
ช้อนโต๊ะ
8.เผือก ตามชอบ
9.เนื้อมะพร้าวอ่อน
ตามชอบ
10.ใบเตย
ตามชอบ
11.กะลามะพร้าว
บทที่4
ผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงการข้าวหลามยั่วๆจ้า
เพื่อศึกษาวิธีการทำข้าวหลามกะลา เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการทำ
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คนในปัจจุบันได้รู้จักวิธีและความรู้พื้นฐานในการทำข้าวหลาม
เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนรุ่นหลังเอาไว้เเละพัฒนาให้แปลกใหม่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
เพื่อนำข้าวหลามไปจำหน่ายให้เกิดรายได้ สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้
มีผลการดำเนินงานดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาโครงการ
การพัฒนาโครงการข้าวหลามยั่วๆจ้า
เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำข้าวหลามกะลา
ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาศึกษาเเละเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำข้าวหลามกะลาให้มากขึ้น
บทที่
5
สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ
ในการจัดทำโครงการข้าวหลามยั่วๆจ้า เป็นสื่อเพื่อการศึกษา
นี้สามารถสรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะได้ดังนี้
5.1การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
1. เพื่อทำให้คนในปัจจุบันได้รู้จักวิธี
และความรู้พื้นฐานในการทำข้าวหลาม
2. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนรุ่นหลังเอาไว้และพัฒนาให้แปลกใหม่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อนำข้าวหลามไปจำหน่ายให้เกิดรายได้ สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้
5.2 วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
1.
เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
2. เว็บไซส์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
www.facebook.com,www.hotmail.com
5.3 สรุปผลการดำเนินงาน
จากการทำโครงงานพบว่า
ข้าวหลามกะลานั้นมีความพิเศษทั้งด้านผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่และดึงดูดสายตาให้เข้าไปลิ้มลองข้าวหลามกะลา
อีกทั้งรสชาติที่มีความอร่อยกลมกล่อมมีความเป็นข้าวหลามแบบดั้งเดิมที่ยังคงเป็นเสน่ห์ให้น่าค้นหาอยู่เช่นเดิมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการใส่ข้าวหลามก็สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติป้องกันมลพิษทางอากาศที่จะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ด้วย
รวมถึงราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของข้าวหลามกะลาอีกด้วย
5.4 ข้อเสนอแนะ
1.
อยากให้ตลาดขยายเวลาในการเปิด เช่น 08.00 น. – 20.00 น.
2.
อยากให้มีรถสองแถวประจำทางที่ประจำทางถึงตลาดน้ำสามโคกได้เลย